ศิลปะในการติเตียน

คุณอาจจะเคยโดนไม้เรียวมาตอนเด็กๆ โดนฝึกหนักเพราะเชื่อว่าความอดทนเหล่านั้นจะสามารถเอาชนะทุกสิ่ง โดนดุด่าอย่างหนัก เหน็บเเนมเสียดสีให้เจ็บปวด เวลาคุณทำอะไรผิดพลาด  ท้ายที่สุดคุณเลยส่งผ่านการกระทำเหล่านี้ไปให้คนอื่น ทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ทำเหมือนกับว่ามันเป็นวิธีเดียว ที่ทำให้คนๆหนึ่งสามารถพัฒนาได้ มันเป็นวิธีที่ได้ผลจริงๆหรอ หรือเเค่…คุณไม่รู้จักวิธีอื่นที่มันได้ผลยิ่งกว่า

ช่างติ ( Complainer )

เกิดอะไรขึ้นทำให้คนๆหนึ่ง กลายเป็นคนที่ชอบวิจารณ์ บ่น ติเตียน ต่อว่า ถึงเพียงนี้ ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าพฤติกรรมเหล่านี้ไม่เหมือนกับคนที่เข้ามาตักเตือนคุณในยามที่คุณทำอะไรผิดพลาด

เช่น เวลาที่คุณได้รับอาหารมาไม่ตรงกับเมนูที่คุณสั่ง เเล้วคุณขอให้พนักงานให้ไปเอาอาหารมาใหม่ เปลี่ยนตามเเบบที่คุณได้สั่งเอาไว้ อันนี้ถือว่าคุณทำในสิ่งที่ถูกต้อง ตามเหตุเเละผล

เเต่ถ้าเป็น complainer พวกเขาจะบอกไปประมาณว่า เธอกล้าดียังไง!!! เธอรู้ไหมฉันเป็นใคร!!! หยั่งงี้คิดว่าถูกต้องหรอ!!! อะไรก็ตามที่มันไม่ตรงประเด็ดสุดๆเเละไม่รู้จะตอบยังไง เนื่องจากการที่พวกเขาสร้างโลกบางอย่างขึ้นมา

เเท้จริงพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยทำให้อีโก้ในตัวพวกเขาเเข็งเเรงขึ้น พวกเขาจะคิดว่าตัวเองถูกเเละอีกฝ่ายผิด พวกเขาสามารถสร้างเรื่องบางอย่างขึ้นมาเพื่อรองรับกับความเชื่อของตัวเอง พวกเขาจะสร้างศัตรูขึ้นมาในหัว เเล้วมองว่าตัวเองคือผู้พิชิต ที่มอบความชอบธรรมให้ตัวเองโดยการทำร้ายคนอื่น

“ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นผ่านการพูดหรือผ่านทางความคิดก็ตาม”

เเละพวกเขาจะไม่รู้ตัวว่า…การที่ทำให้อีโก้เเข็งเเรงนั้นจะเป็นตัวหยุดการรู้ ( awareness )  ทำให้ตรรกะหรือระบบความคิดในเรื่องอื่นๆอ่อนแอลงไป

“ถ้าคุณเป็นคนที่ช่างติ…ไม่ต้องแปลกใจ ถ้าหากคุณมีปัญหาอะไรบางอย่างในชีวิต ที่คุณเเก้ไม่ตกเสียที”

ยังพอจะมีศิลปะในการติเตียนที่เราสามารถฝึกฝนได้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น…

ใช้อารมณ์-ไม่ได้อะไร

เเทนที่จะเอาเเต่บ่น เหน็บเเนมว่าคุณ ก น่ารำคาญเเค่ไหน ลองเปลี่ยนมาเป็นอธิบายถึงพฤติกรรมของคุณ ก ดูว่ามันส่งผลกระทบในด้านไหนบ้างต่อบริษัท? อย่างไร? มันรบกวนการทำการที่มีประสิทธิภาพของคุณอย่างไรบ้าง?

ไม่ว่าเจ้านายคุณ ลูกน้องคุณ คนรอบตัวคุณ เเม้เเต่ตัวคุณเอง อยากเห็นตัวเองมีความสุข โชว์ออกไปให้คนอื่นเห็นว่าคุณใส่ใจกับประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการใช้อารมณ์ หยุดคิดสักนิดเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุงวิธีการติเตียนของคุณให้กลายเป็นเเรงผลักดัน เเละคำเเนะนำที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ยังไงก็ต้องรักษาความสัมพันธ์

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า ภาษาที่เราใช้มีผลกระทบต่อผู้รับฟังในระดับที่เเตกต่างกันออกไป กับเพื่อน กับลูกน้อง กับเพื่อนร่วมงาน ย่อมมีความความเข้าใจในมุมมองที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นคุณต้องเเน่ใจก่อนที่คุณจะพูด  ว่าวิธีนี้เหมาะกับคนเเบบนี้จริงๆ

ลองใช้สูตรนี้ดู

ลองเริ่มต้นด้วยข้อดีก่อน จากนั้นตามด้วยคำเเนะนำ เพื่อนำมาซึ่งการเเก้ไขเปลี่ยนแปลง จากนั้นก็จบลงด้วยอะไรที่เป็นบวกอีกสักครั้ง เเละจะต้องเป็นอะไรที่จริงใจจริงๆ เป็นอีกหนึ่งการฝึกวิธีการคิดบวกในตัวคุณด้วย ที่นอกจากจะทำให้คุณมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นเเล้ว ยังทำให้ผู้ที่ได้รับฟัง นำคำเเนะนำเหล่านั้น กลับไปแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ  เเละยังทำให้ผู้ที่ได้รับสารมีความเคารพนับถือในตัวคุณมากขึ้นอีกด้วย

มันได้อะไรกับเราไหม?

เราต้องเเน่ใจก่อนว่าสิ่งที่เราจะพูด จะติเตียนจะบ่นต่อไปนี้ ให้อะไรเเก่เราบ้างในท้ายที่สุด คุณสามารถเเชร์เรื่องราวบางอย่างให้เพื่อนร่วมงานเวลาที่คุณรู้สึกกดดันเวลาทำงานร่วมกับนาย ก เพื่อครั้งหน้าเพื่อนของคุณคนนี้อาจมาช่วยทำให้คุณผ่อนคลายขึ้น ตอนที่คุณได้ทำงานร่วมกับนาย ก อีกครั้ง

ถึงเเม้ว่าการเก็บความรู้สึกไว้ข้างในจะมีผลเสียต่อสุขภาพจิต เเต่การส่งสารออกไปโดยขาดการยั้งคิดอาจจะสร้างปัญหาในภายหลังได้ จนเกิดเป็นผลเสียที่ร้ายเเรงยิ่งกว่า

ให้ระลึกเสมอว่าการบ่น หรือติเตียนในเเต่ละครั้งจะต้องวางเเผนหรือจัดระบบความคิดก่อนเสมอ เเละต้องเเน่ใจว่ามันถูกต้องเเละสร้างประโยชน์ได้จริง ก่อนที่มันจะถูกสื่อสารออกไป

การควบคุมสติเหล่านี้จะส่งผลดีต่อสุขภาพจิตตัวคุณเอง ซึ่งมันต้องผ่านการฝึกฝนพอสมควร ในกรณีที่คุณเป็นคน   “ปากเร็วใจเร็ว” เเต่ถ้าหากคุณยังมีปัญหาอะไรบางอย่างที่เเก้ไม่ตกสักทีในชีวิต…มันก็เป็นอะไรที่คุ้มค่าที่จะลองดู

 

Sources :

www.theaustralian.com.au

www.nbcnews.com 

www.psychologytoday.com

ติดตามเพจ:

www.facebook.com/WeTheVaporTH

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

%d bloggers like this: