ปี 1991 เมเดยิน( Medellín ) ประเทศโคลอมเบีย คือเมืองที่อันตรายที่สุดในโลก เเต่ปัจจุบัน เมืองนี้คือหนึ่งในเมืองที่ถูกเรียกว่าเป็น “เมืองเเห่งอนาคต” (the list of the top 10 urban innovations)
มีรายได้เป็น เป็น 8% ของGDPในประเทศ เเละเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 โดยมีประชากรราว 3 ล้านคนอาศัยอยู่อย่างสงบสุข
มีปัจจัยหลายๆด้านที่มีส่วนในการพลิกโฉมความเป็นอยู่ จากการเป็นเมืองที่ดูเหมือนไร้อนาคต ให้กลายเป็นเมืองที่เต็มเปี่ยมความหวัง พวกเขาทำมันได้อย่างไร?
สมัยก่อน เมเดยินเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความรุนเเรง มีการเเบ่งเเยกชัดเจน ระหว่างเขตชุมชนเมือง เเละเขตสลัม มีพ่อค้ายาเสพติด ปาโบล เอสโกบาร์ ควบคุมความเป็นอยู่ของคนทั้งเมือง เขาจัดให้เขตสลัมนี้เป็นฐานที่มั่นที่สำคัญ ในการค้ายาเสพติด เรียกได้ว่า…เขาคือคนที่กำหนดอนาคตของเมืองนี้อย่างเเท้จริง
เขามีนโยบายในการเเก้ไขปัญหาของสลัม ทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงให้กับคนจนมาโดยตลอด เเต่เมื่อเขาถูกยิงด้วยเจ้าหน้าที่ มันจึงทำให้คนจนในเขตสลัมต่อต้าน เเละเกลียดชังคนเมืองเข้าไปใหญ่ จนท้ายที่สุดเกิดเป็นสงครามกลางเมืองขึ้น ทำให้เมเดยินกลายเป็นเมืองที่อันตรายที่สุดในช่วง 1900 -1903

มีคนถูกฆาตกรรมราวๆ 6,000 คนต่อปี แก๊งค้ายาเต็มไปหมด เด็กบางคนถูกฆ่าอย่างทารุณเพราะเผลอไปเล่นในเขตเเดนของแก๊งอื่น การเรียกค้าไถ่ หรือกินข้าวอยู่ดีๆเเล้วกระสุนปืนลอยผ่านหน้าไป ถือเป็นเรื่องปกติ จนผู้คนเคยชินกับเหตุการณ์เเบบนี้
การเเก้ไขสถานการณ์นี้จึงต้องกลายเป็นวาระเเห่งชาติ การเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้น จะต้องทำอะไรสักอย่าง เพราะมันไม่มีอะไรที่เเย่ไปกว่านี้เเล้ว
จึงเกิดเป็นโปรเจกต์ ที่จะต้องพลิกโฉมเมืองนี้ขึ้นมา โดยรัฐบาลได้มอบอำนาจอย่างเต็มที่ ให้กับผู้เชี่ยวชาญในเเต่ละสาขามาเป็นผู้วางแผนเเละควบคุม เพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองนี้ให้ดีขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญได้มองเห็นว่า “ความไม่เท่าเทียมกัน”เเละ “ปัญหาความรุนเเรง” เกิดจากการขาดพื้นที่สาธารณะ เเละระบบการคมนาคมที่เข้าไม่ถึง
หัวใจสำคัญคือการมีพื้นที่ที่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกเเก๊ง ทุกทัศนคติ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ เเละเข้าถึงได้ง่าย

จนมาปี 1995 -1999 การเเชร์พื้นที่ร่วมกันเเบบนี้ได้กลายเป็นเเนวคิดสำคัญ ในการดึงชาวเมืองจากทุกๆฝ่าย ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา รวมไปถึงคนที่ชาวบ้านมองว่า…เป็นพวก “ไม่ดี”ให้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งการพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกภาคส่วน เเละการเเบ่งเเยกคน ก็มีเเต่จะสร้างความเกลียดชังยิ่งขึ้นไปอีก ไม่จบสิ้น
นำโดยนายกเทศมนตรี Sergio Fajardo เเละสถาปนิก Alejandro Echeverri ที่รายล้อมไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในเเต่ละสาขาไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพัฒนาชุมชน (Urban Development) วิศวกร, นักสังคมวิทยา ได้ร่วมมือกันในโปรเจกต์ครั้งนี้
พวกเขาสร้างสิ่งเรียกว่า“imagination workshops” เพื่อให้คนจากสลัมออกเเบบเมืองที่เขาอยากจะอยู่ ร่วมกับนักวางแผนเมือง เเล้วหาจุดที่เป็นไปได้ในการสร้าง
จึงเกิดเป็นเเนวทางในการสร้างระบบคมนาคมเชื่อมต่อกัน ทั้งสะพาน ,รถไฟฟ้า ,ทั้งเคเบิ้ลคาร์ ,บันไดเลื่อน ทุกงานออกเเบบ หรือสถาปัตยกรรมจะต้องทำให้เหมือนกับที่มี ในเขตชุมชนเมือง เพื่อเชื่อมโยงเเนวความคิดเข้าไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน
มีการสร้างห้องสมุด ,ศูนย์วัฒนธรรม ,ศูนย์ราชการ ด้วยงานออกเเบบทางสถาปัตยกรรมที่ทันสมัย ให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ จินตนาการ เเละเเชร์พื้นที่ร่วมกัน ในเขตพื้นที่ที่ยากจน

ความกลมกลืนในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ที่มีความเป็นสากล กับงานออกเเบบเก่าๆ ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมดั้งเดิม ของทั้งเขตเมืองเเละชุมชนที่เป็นสลัม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความคิดของคนในเมืองนี้เป็นหนึ่งเดียว เเละเหมือนเป็นการส่งสัญญาณต่อชาวโลก ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองในทางที่ดีขึ้น รวมทั้งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามา เเละสนใจในการทำธุรกิจในเมืองนี้

ในสถานีที่เชื่อกันว่า…เป็นเขตที่อันตรายที่สุด Comuna 13 มีการจัดสวนดอกไม้ให้ร่มรื่น เติมสีสันต่างๆโดยรอบ มีเพลงผ่อนคลายเบาๆ ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในเเถบนั้นทีละเล็กละน้อยได้เป็นอย่างดี พวกเขาจะค่อยๆพบตัวตนใหม่ที่ดีกว่าเดิม เเละพบเจอวิธีเเสดงออกในเชิงที่สร้างสรรค์ เช่น ศิลปะกราฟิตี้ที่มีอยู่รอบๆสถานี
Sergio Fajardo ได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีในปี 2003 เขาเป็นนายกที่ต่างจากที่เคยมีมา เขาเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่มหาฯลัยเเละไม่เคยมีประวัติทางการเมือง เเละการคอร์รัปชันมาก่อน เขาเข้ามาอย่างไม่มีอิทธิพลเเละโปร่งใสสุดๆ นี้อาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่คนสลัมเปิดใจให้เขา เพราะเขาอิสระ เเละไม่ได้มาจากใคร
ในช่วงปี 2003 – 2009 Fajardo กับ พ่อค้ายา Don Berna ที่ดูเเลเขตชุมชนสลัม ได้ใช้ความพยายามในการปรับความเข้าใจร่วมกันในการพัฒนาเมืองให้ไปข้างหน้า
การจัดตั้ง Urban Development Corporation (EDU) ให้เป็นหน่วยงานอิสระ เเละมีความโปร่งใส ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามรูปเเบบที่คนในท้องที่ต้องการจริงๆ พวกเขามีเสรีภาพในการทดลองต่างๆกับชุมชนได้อย่างเต็มที่ เข้าถึง เเละมีการจัดการที่รวดเร็ว
อีกส่วนที่สำคัญคือการได้รับทุนจาก public utilities company EPM ซึ่งเป็นหน่วยงานของเทศบาล เป็นหน่วยงานที่ร่ำรวยจากการส่งออกพลังงานไปต่างประเทศ พวกเขาจะมอบเงินในการพัฒนาเมือง 30% ของผลกำไร ซึ่งถือว่าเป็นเเหล่งสนับสนุนทางการเงินที่สำคัญในการผลักดันโปรเจกต์ต่างๆให้เกิดขึ้น

ในปี 2004 เคเบิลคาร์ได้เริ่มเปิดใช้งาน เพื่อเชื่อมต่อคนในเขตสลัมเข้ากับตัวเมือง ซึ่งมันได้เปลี่ยนวิธีการคิดของคนที่นี่ไปตลอดกาล
มันได้เชื่อมต่อผู้คนจากเขตสลัมที่อยู่บนเนินเขา เข้ากับคนเมืองที่อยู่เบื้องล่างเข้าไว้ด้วยกัน พวกเขาเห็นวิวที่สวยงามในมุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เหนือชายคาของบ้านเรือน เขามองเห็นผู้คนอยู่เบื้องล่าง ตัวเล็กๆสุดสายตาไม่ต่างกัน บรรยากาศผ่อนคลาย เเละบทสนทนาก็ได้เริ่มต้นขึ้น เสียงหัวเราะก็ตามมา
หลายๆคนจินตนาการไม่ออกเลยว่าเขตเมืองมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร การเดินทางด้วยเคเบิลคาร์นี้จึงเหมือนเป็นสะพานที่เปิดมุมมองให้กับคนที่เกิดมาด้วยความรุนเเรง ฆาตกรรม ขาดการศึกษา ในเขตสลัม ให้พวกเขาได้มีโอกาสที่จะฝันถึงอนาคตที่ดีกว่า
สถานที่ที่ใช้ร่วมกันถูกปรับปรุงให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ,พิพิธภัณฑ์,ลานคอนเสิร์ต,โรงหนังกลางเเจ้ง ทุกที่จะมีการจัดเเสดง และมีการอัพเดทไปเรื่อยๆในเเต่ละเดือน เป็นการกระตุ้นให้คนเข้ามามีส่วนร่วม อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ผลักดันให้ร้านค้าที่อยู่รอบๆ ไม่ว่าจะเป็น ร้านกาแฟ,ร้านอาหาร ปรับปรุง สร้างจุดสนใจให้คนเข้ามาใช้บริการมากขึ้น
รถไฟที่สะอาดเเละมีระบบที่ทันสมัยถูกจัดให้มีคุณภาพลำดับต้นๆของโลก ผู้คนเข้ามาใช้ร่วมกันอย่างไม่มีการเเบ่งเเยก เดินทางไปทำงานได้สะดวกเเม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล
“มันไม่ใช่เเค่การเดินทางที่สะดวกขึ้น เเต่มันยังเป็นตัวเปลี่ยนจิตสำนึกของผู้คนด้วย”
ส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือทัศนคติที่มีต่อพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความเท่าเทียมกัน เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกถึงการเป็นทั้งผู้ใช้งาน เป็นทั้งเจ้าของ เเละเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการกำหนดชะตาของเมืองที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่จริงๆ
เป็นความสำเร็จ ที่อยู่นอกเหนือจากนโยบายที่เข้มงวด หรือการใช้ตำรวจปราบปรามด้วยความรุนเเรง เเต่เป็นความสำเร็จที่เกิดจากการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ผลักดันเมืองนี้ไปพร้อมๆกัน ด้วยตัวของพวกเขาเอง
Sources: www.theguardian.com, www.telegraph.co.uk, www.travellifex.com