เราอาจจะพบเจอกันมาบ้าง กับคนบางคนที่ยังไม่รู้ตัวว่าพวกเขา “ไม่รู้” มากแค่ไหน ยิ่งถ้าลองเลื่อนมือถือ อ่านคอมเมนต์ ในสื่อโซเชียลมีเดียดู ก็จะพบผลลัพธ์ที่น่าตกใจ ว่ามีคนเเบบนี้มากเหลือเกิน พวกเขาจะมีเเนวคิดที่เเน่วเเน่เเละเเข็งเเรง ยากที่จะทำลายด้วยเหตุผลใดๆได้
คุณคิดว่าคุณ “รู้จริง” เหมือนอย่างที่คุณคิดรึเปล่า?
บางที การตระหนักรู้ถึงศักยภาพที่เเท้จริงของตัวเอง อาจเป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก ต่างจากการสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองซึ่งสามารถทำได้ง่ายกว่า
ความมั่นใจในศักยภาพตัวเอง จะเป็นตัวหยุดในการมองหาข้อเเนะนำอื่น พวกเขาเลือกที่จะเชื่อในสัญชาตญาณของตัวเอง
ในทางจิตวิทยามองว่าวิธีคิดเเบบนี้จะส่งผลร้ายมากกว่าผลดี ในการมองว่าตัวเองเก่งเกินความเป็นจริง
เเท้จริงเเล้วผู้คนส่วนใหญ่ จะมองว่าตัวเองมีความสามารถเหนือกว่าความสามารถที่เเท้จริงของตัวเอง อยู่บ่อยๆครั้ง
คุณอาจจะเคยเร่งเครื่องตอนที่เห็นสัญญาณไฟเหลืองตรง 4 เเยก เพราะคิดว่ามันทัน
คุณอาจจะใช้จ่ายเกินตัว จนลืมไปว่าหนี้สินได้งอกเงยไปเเล้วเท่าไร
หลายๆคนคิดว่าสุขภาพของตัวเองดีเเล้ว จึงว่างเว้นที่จะออกกำลังกาย
เเล้วกี่ครั้งในชีวิตที่คุณพูดว่า “รู้น่าาาา”
นักวิจัยมีชื่อให้กับปรากฏการณ์นี้…
Dunning-Kruger effect
ปรากฏการณ์นี้เเสดงให้เห็นว่า ผู้คนมักจะ “มโน” ว่าตัวเองมีศักยภาพ หรือความรู้ที่สูงกว่า ศักยภาพที่เเท้จริงของตนเอง อีกทั้งยังคิดว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น
นี่ไม่ใช่เรื่องแปลก โดยทั่วไปเเล้วผู้คนมักจะมองตัวเองเก่งกว่ามาตรฐานในเรื่องของสุขภาพ ภาวะผูนำ จริยธรรม ฯลฯ พวกเขาให้คะเเนนตัวเองสูง เปรียบเหมือนกับเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง
เเต่เมื่อมีการทดสอบที่มีมาตรฐาน พวกเขาจะทำคะเเนนได้น้อยในการใช้เหตุผล ความรู้ทั่วไป คณิตศาสตร์ การความคุมอารมณ์ หรือเเม้เเต่การเล่นหมากรุก เเละคนที่ได้รับผลกระทบจากความเชื่อเเบบนี้คือทุกๆคนรอบๆตัว ซึ่งอาจส่งผลเสียร้ายเเรงมากเกินกว่าจะคาดคิด
“เพราะทุกคนต่างก็มีข้อบกพร่องบางอย่าง ที่เราอาจไม่ทันได้สังเกต”
ย้อนกลับไปในปี 1999 ในตอนที่นักจิตวิทยา Dunning เเละ Kruger ได้ค้นพบกับสภาวะนี้ พวกเขาพบว่า…ผู้คนที่ขาดทักษะสำคัญบางจุดเเต่ไม่รู้ว่าตนเองขาด มีโอกาสสูงที่จะทำให้เขาตัดสินใจอะไรผิดพลาด แต่ในขณะเดียวกัน การที่ผู้คน “รู้ตัว” ว่า ตัวเองขาดทักษะนี้ไป จะทำให้พวกเขารู้วิธีหลีกเลี่ยงที่จะทำผิดพลาดได้
ความมั่นใจจะเป็นปัจจัยสำคัญในปรากฏการณ์นี้
ผู้ที่มีความรู้ระดับกลางถึงมาก พวกเขาจะมีความมั่นใจน้อยกว่า ในศักยภาพของตนเอง พวกเขารู้ว่า เเท้จริงเเล้วยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่พวกเขาไม่รู้
เเต่ในขณะเดียวกัน คนที่ “คิดว่า” ตัวเองเชี่ยวชาญเเล้ว รู้มากพอเเล้ว จะมองเฉพาะในสิ่งที่ตัวเองได้รู้เเล้ว พวกเขาจะมองไม่เห็นว่าพลาดตรงไหน เเละตั้งเเง่กับศักยภาพที่ควรจะเป็นเเทน โดยพวกเขาใช้มาตรฐานการวัดศักยภาพ ด้วยเงื่อนไขที่ตัวเองเป็นคนกำหนดขึ้น
เเละนั่นคือเหตุผลที่โลกวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้ เพราะคนที่รู้ไม่จริง มักจะพูดมากกว่า วิจารณ์มากกว่า มั่นใจสูงกว่า เเต่ในขณะเดียวกัน คนที่รู้จริงๆกลับนิ่งเฉย เงียบ ขาดความมั่นใจ เพราะคิดว่าตัวเองยัง “รู้ดี” ไม่พอ
เเล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะ ว่าศักยภาพของเราอยู่ในระดับไหนกันเเน่ ?
คุณอาจจะลองถามหลายๆคนดู หรือ ลองบอกเล่าเรื่องราวที่คุณ “รู้” ออกมา เพื่อดูเสียงตอบรับหรือคำเเนะนำต่างๆ เเล้วให้ลองนำมาพิจารณาดู
มันเป็นหนึ่งในวิธีที่น่าสนใจ ที่จะได้ทดสอบว่าสิ่งที่คุณรู้มีความถูกต้องมากน้อยเเค่ไหน
สิ่งที่คัญที่สุดคือ อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ หาความรู้ให้รอบด้าน กับเรื่องนั้นๆ เพื่อหาข้อบกพร่องที่ควรนำไปเเก้ไข หรือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ เพื่อลดข้อผิดพลาดที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น เเละตั้งคำถามต่อสิ่งที่ตัวเอง “คิดว่ารู้” อยู่เสมอ
ครั้งต่อไป เวลาคุณกำลังโต้เถียงกับใครสักคนอยู่ ที่คิดว่าเขามีอาการในเเบบ dunning- kruger effect ให้พยายามตั้งสติไว้
เเล้วคิดว่า…อย่าเป็นแบบนั้นเสียเอง
Sources : www.psychologon.cz, TED-Ed
One thought on “ทำไมคนที่ไม่รู้…มักคิดว่าตนเองรู้ดี?”