ในปี 2012 World Health Organization ได้ระบุว่า การเสียชีวิต 1 ใน 7 ของคนทั่วโลกล้วนมาจากปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นการเสียชีวิตที่เยอะยิ่งกว่าการเป็นโรคมาลาเรีย เอดส์ เเละมากกว่าการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากภาวะขาดสารอาหาร เเละสุขอนามัยที่ไม่ได้มาตรฐานหลายเท่า
ส่วนใหญ่ปัญหานี้จะเกิดขึ้นกับประเทศที่ประชากรมีรายได้น้อยถึงระดับปานกลาง ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีการจัดการกับปัญหามลพิษอย่างเหมาะสมเท่าที่ควร
ทาพิวา ชีวีวี่ ( Tapiwa Chiwewe ) เป็นเป็นหัวหน้างานวิจัยของ IBM แอฟริกา เขาจบระดับ Ph.D ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ the University of Pretoria
เขาเข้ารวมงานวิจัยของ IBM เเละได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับโปรเจกต์ใหญ่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับการจัดการด้านมลพิษทางอากาศ ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับสิ่งที่เขาได้เรียนมาเลย เขารู้สึกว่าตนเองเหมือนเป็นผู้สังเกตการณ์ซะมากกว่า
ทาพิวา เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ เขาไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ในตอนนั้นเขาคิดว่ามีอีกหลายคนบนโลกที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เเละคิดว่าพวกเขาเหล่านั้นควรจะได้รับค่าตอบเเทนจากโปรเจกต์เเบบนี้เเทนที่ตัวเขาเอง
มันเป็นสิ่งที่เขาเชื่อมาโดยตลอดว่า คนที่มีความเชี่ยวชาญในสายงานนั้น จะสามารถจัดการกับปัญหาที่พวกเขารู้ได้ดีที่สุด วิศวกรคอมพิวเตอร์อย่างเขาน่าจะสามารถสร้างหุ่น AI ได้ดีกว่าการจัดการกับปัญหาด้านสิ่งเเวดล้อม ซึ่งเป็นสายงานที่เขามีความรู้น้อยมากๆ

เช้าวันหนึ่งที่โจฮันเนสเบิร์ก เขาขับรถไปทำงานตามปกติ เเต่วันนั้นมันดูต่างออกไป เขามองเห็นหมอกปกคลุมเมืองเอาไว้ มันต่างจากสิ่งที่เขาเคยรู้จักโดยสิ้นเชิง ที่เมืองนี้เป็นเมืองที่มีท้องฟ้าปลอดโปร่งเเละสดใสสวยงามที่สุด
ต่อมาเขาได้รู้ว่าหมอกเหล่านั้นคือมลพิษ มันทำให้เขารู้สึกว่า เขาควรจะทำอะไรสักอย่าง เเละเขาก็ได้รับโอกาสที่จะได้ทำมัน
เขาเริ่มต้นที่จะศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศเเละพอจะรู้ถึงผลกระทบร้ายเเรงจากปัญหานี้
ทาพิวา ได้เข้าไปทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ เเละผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ในพื้นที่เพื่อหาข้อมูลเชิงลึก เเละช่วยกันหาทางออกให้กับปัญหานี้ ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ได้รู้อะไรอีกมากมายจากสิ่งที่ ทาพิวา รู้เช่นกัน
สิ่งที่เขาได้กลับมาจากกระบวนการนี้ เป็นสิ่งที่เปลี่ยนความคิดของเขาไปตลอดกาล
เขารู้ว่า…ต่อให้คุณไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ ไม่ได้จบ ด็อกเตอร์ หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นหลายสิบปี การที่คุณเป็น “คนนอก” ในสายงานนั้น อาจจะบ่งบอกว่าคุณกำลังถือกุญเเจไขปริศนาบางอย่างอยู่ เนื่องจากคุณมีมุมมองที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิงในการเเก้ปัญหานั้น
” คุณจะรู้ว่า…คุณได้ถือกุญเเจนั้นรึไม่ ต่อเมื่อคุณกล้าที่จะออกมาทำอะไรสักอย่าง ด้วยสิ่งที่คุณคิดว่าคุณรู้มากที่สุด “
หลังจากนั้นเขาได้ออกเเบบ “online air-quality management platform” ขึ้นมา เป็นระบบที่รวบรวมสถิติมลพิษทางอากาศจากผู้เชี่ยวชาญ ที่มีการคำนวณถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยระบบของ AI เเบบ REAL TIME เเละเป็นระบบที่มีการคาดการณ์ได้เเม่นยำที่สุด ระบบหนึ่งของโลก
ระบบนี้ช่วยในการตัดสินใจ ในการย้ายถิ่นฐานของผู้คน พวกเขาจะรู้ผลกระทบที่จะเกิดกับครอบครัวของเขาอันเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ คนที่ทำงานเกี่ยวกับผังเมืองจะตัดสินใจได้ดีขึ้นในการกำหนดโครงสร้างคมนาคม พวกเขาจะรู้ว่าที่ไหนที่คนสามารถเข้าไปอยู่ได้ เมืองควรจะกระจายตัวไปในทิศทางไหน โรงงานอุตสาหกรรมสามารถเข้าไปก่อสร้างได้รึไม่ เหมาะสมรึเปล่า
ระบบนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าขาดผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านปัญหามลพิษ เเละระบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน ถ้าผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นขาด “คนนอก” ในสายงานเช่น ทาพิวา เเละการร่วมมือกันเเบบนี้แหละ ที่จะสามารถเเก้ปัญหาใหญ่ๆได้
ท้ายที่สุดเขาก็ยังไม่ใช่คนที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้อยู่ดี เเต่มันอาจจะไม่จำเป็นด้วยซ้ำ
สิ่งที่เราเรียนรู้ได้ก็คือ…
การที่เขากล้าพอที่จะออกมาทำอะไรสักอย่าง มีโอกาสที่จะสร้างการเปลี่ยนเเปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ เเม้ว่าเขาจะไม่ใช่ผู้เชี่ยญชาญในเรื่องนั้นโดยตรงก็ตาม
ติดตามเพจ: