อาการของคนที่รักความสมบูรณ์แบบ ( perfectionist )

เพอร์เฟคชั่นนิส ( perfectionist )ไม่ใช่พวกที่ชอบตัดสินคนอื่นหรือหลงใหลกับการคอมเมนต์แบบเจ็บๆ แต่พวกเขาเป็นพวกที่ต้องการแน่ใจสุดๆว่าสิ่งที่เขาทำจะต้องเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบที่สุด ปัญหาของมันก็คือ…คนเหล่านี้ไม่สามารถทําให้ทุกๆอย่างสมบูรณ์อย่างที่คิดได้จริงๆสักที

นี่คือเหตุผลว่าทำไมคนเหล่านี้มีแนวโน้ม ที่จะ “ไม่ทำอะไรเลย” เพราะเห็นว่าทำยังไงก็ไม่สมบูรณ์แบบสักที ซึ่งการหลั่งไหลเข้ามาเเบบล้นทะลักของข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัลก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเเบบนี้ขึ้น ผู้คนจะรู้เยอะกว่าที่เคย อ่านเยอะกว่าที่เคย จนหาวิธีที่สมบูรณ์เเบบที่สุดไม่เจอสักที

คุณอาจจะเป็นคนที่ไม่ได้คาดหวังความสมบูรณ์แบบขนาดเท่า perfectionist  แต่คุณอาจจะมีแนวโน้มที่จะเป็นก็ได้  ลองมาดูสัญญาณของคนที่เป็น perfectionist กัน…

ไม่มีครึ่งๆกลางๆ

ถ้าพวกเขารู้สึกว่าพวกเขาไม่สามารถลดน้ำหนักได้ พวกเขาจะไม่เริ่มไดเอทตั้งเเต่ทีเเรก ถ้าพวกเขาอยากจะเป็นนักฟุตบอลพวกเขาต้องเก่งระดับโลกเเละต้องเล่นบอลด้วย 2 เท้าได้ ถ้าอยากจะเป็นคนเรียนเก่ง พวกเขาจะต้องได้ 4.00 ทุกเทรม ซึ่งต่อให้พวกเขาทำสำเร็จเเล้ว พวกเขาจะยังหาสิ่งที่พวกเขาไม่พอใจได้เสมอจนน่าหมั่นไส้ในบางทีสำหรับคนรอบข้าง

เพราะฉะนั้นถ้าคนใกล้ตัวคุณไม่ยอมลดน้ำหนักสักที ให้คิดในเเง่ดีว่าพวกเขาคือ perfectionist ไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาขี้เกียจ

ผัดวันประกันพรุ่ง

นี่อาจจะเป็นอะไรที่ย้อนแย้งสักหน่อยแต่มันมาจากเหตุผลของ “ความกลัวที่จะล้มเหลว” perfectionistมีพฤติกรรมที่ชอบเลื่อนงานไปเรื่อยๆ พวกเขาจะไม่ยอมจบงานตัวเองสักทีจนกว่าจะรู้สึกพอใจอย่างถึงที่สุด จนบางครั้งการปรับเเก้งานไปเรื่อยๆไม่จบสิ้นเเบบนี้จะทำให้เกิดผลเสียมากกว่า

บางครั้งก็ไม่ยอมเริ่มทำงานสักทีเพราะรู้สึกไม่สบายใจที่จะทำอะไรเเย่ๆออกไป

ปัญหาการมอบหมายงาน

มันไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่เชื่อในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานที่จะทำงานให้ แต่พวกเขาแค่รู้สึกไม่มั่นใจเท่านั้น จนอยากที่จะทำมันด้วยตนเองไปเสียทั้งหมด สุดท้ายพวกเขาก็ได้พบว่า…มีงานล้นมือจนเกินไปและมันก็มีเเต่จะเพิ่มความเครียดให้พวกเขาเข้าไปอีก

สร้างกำแพง

perfectionist หลายๆคนพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะมีเพื่อน สิ่งหนึ่งที่ perfectionist กลัวก็คือการโดนปฏิเสธแต่มันน่าจะเป็นเรื่องที่ดีมากกว่าที่จะมีเพื่อนมาปฏิเสธ มาคอมเมนต์ติเตียนบ้าง เพื่อที่จะได้พบจุดอ่อนจุดเเข็งของตัวเองเเล้วนำคำติชมนั้นมาปรับปรุง ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในอนาคต

แก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต

พวกเขามักจะคิดถึงข้อผิดพลาดในอดีต จะคิดถึงมันทั้งวันทั้งสัปดาห์หรือทั้งปี และพยายามแก้ไขมันในงานถัดไป เเล้วก็พบว่า…มีปัญหาใหม่ๆรอที่จะเกิดขึ้นมาอีกเช่นกัน

นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่คนพวกนี้พยายามทำงานต่อไปเรื่อยๆเพื่อที่สักวันหนึ่งงานของพวกเขาจะได้ไม่มีข้อผิดพลาดอีก

Perfectionism ไม่ใช่ความเจ็บป่วยทางจิตและเป็นสัญญาณของการป่วยอะไรใด ๆ แต่มีการเชื่อมโยงอยู่บ้างกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ปัญหาด้านความสัมพันธ์ เเละความรู้สึกละอายใจบางอย่างฝังใจ

สิ่งที่สำคัญก็คือ เราต้องเข้าใจเเละทำใจก่อนว่าเราอาจจะทำผิดพลาดได้ในท้ายที่สุด  แต่ถึงยังไงมันก็ดีกว่าที่เราจะไม่ทำอะไรเลย…

 

 

Sources: www.inc.com hbr.org

follow

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

%d bloggers like this: