อาการกลัวความใกล้ชิด ( Fearful avoidant attachment )
เป็นอาการของคนที่อยากมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง เเต่ความกลัวบางอย่างหยุดความสัมพันธ์ของพวกเขาเอาไว้ไม่ให้คืบหน้าไปมากกว่าที่เป็นอยู่ คนรอบๆตัวอาจจะบอกกับคนเหล่านี้ว่าเป็นพวกที่ไม่เปิดใจ
คุณอาจจะไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด สนิทกันยิ่งกว่าคนไหนๆ หรือเเม้เเต่อาจจะเคยมีอะไรกันด้วยซ้ำ เเต่คุณจะไม่ได้หัวใจของเธอหรือเขาไปสักที บางครั้งจะเกิดขึ้นในรูปแบบของคนที่ทำอะไรไปเท่าไรก็เป็นได้เเค่เพื่อน เเค่พี่ ทำดีเเค่ไหน ก็ไม่ถูกเลือกหรือยอมรับสักที
คนเหล่านี้จะมองว่าการ “เปลี่ยนแปลงสถานะ” เป็นสิ่งที่เป็นอันตราย
ความสัมพันธ์ที่ดูกั๊กๆ ไม่ไปไหนสักทีของพวกเขามักจะยึดโยงกับความสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ ทั้งในรูปแบบของแฟนเก่าหรือความใกล้ชิดกับคนในครอบครัว
มักจะเกิดเหตุการณ์ฝังใจในช่วงเด็กๆในการถูกปฏิเสธ ถูกเพิกเฉย เช่น การถูกบังคับให้ทำตัวเป็นผู้ใหญ่เกินวัย ต้องดูเเลคนในบ้านที่มีอาการป่วยหนัก ต้องออกไปหาเงินมาดูเเลน้องๆ ครอบครัวไม่ได้เเสดงความรักกันมากเท่าที่ควร ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจากคนในครอบครัว ทำให้พวกเขาเติบโตขึ้นมาโดยการไม่เชื่อคนอื่นง่ายๆ
จากการศึกษาพบว่า พวกเขาจะชอบด่วนสรุปอะไรต่อมิอะไรอย่างรวดเร็ว ดีไม่ดี ชอบไม่ชอบ ใช่ไม่ใช่ ทำให้การตีความมีความคลาดเคลื่อนสูง
ความสัมพันธ์แบบผูกมัดทั้ง 4
จากผลการศึกษาพบว่าเราจะมีรูปแบบความสัมพันธ์แบบผูกมัดอยู่ 4 รูปแบบ คือ
1. แบบปลอดภัย ( Secure ) – พวกเขาจะมอบความเชื่อใจให้กันเเละกัน จะรู้สึกมั่นใจในความสัมพันธ์เเละพร้อมจะสนับสนุนกันไปตลอด ซึ่งเป็นรูปแบบความสัมพันธ์แบบผูกมัดที่จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
2. แบบกังวล ( Anxious-ambivalent ) – พวกเขารู้สึกว่าต้องพึ่งพาคู่ของตัวเองอยู่เสมอ จะเป็นพวกตามติด โทรจิก ระเเวง ต้องการการยืนยัน กังวลว่าผู้คนจะไม่เห็นด้วยในสิ่งที่พวกเขาต้องการ นักจิตวิทยามองว่าคนเหล่านี้จะชอบให้ค่าคนอื่นเหนือกว่าตัวเองเลยทำให้ขาดความมั่นใจไป จึงต้องการการสนับสนุนส่งเสริมเป็นพิเศษ
3. แบบกั๊กๆ ( Dismissing-avoidant ) – พวกเขาจะมีลิมิตว่าไม่ควรสนิทกันเกินไปเเค่ไหน เป็นพวกที่ไม่ชอบพึ่งพาคนอื่น พวกเขาจะมองตนเองในด้านที่ดีเสมอ เเละพยายามรักษาสถานะเอาไว้ให้คงที่ ไม่พัฒนาขึ้น ไม่ลดลง
4. แบบสับสนๆเเละกลัวการใกล้ชิด ( Fearful avoidant )– คนกลุ่มนี้จะมีทั้งอาการกังวล( Anxious-ambivalent ) เเละเเบบกั๊กๆ( Dismissing-avoidant )ไปพร้อมๆกัน พวกเขามีมุมมองด้านลบต่อทั้งตนเองเเละต่อคนอื่น รู้สึกไม่ได้มีคุณค่าขนาดที่คนอื่นจะให้การสนับสนุน หรือไม่เห็นว่าตัวเองดีพอที่จะเข้าไปสนับสนุนผู้อื่น พวกเขาจะรู้สึกไม่สบายใจหากต้องพึ่งพาคนอื่น เเละจะหาโอกาสทำตัวออกห่างเเม้ว่าพวกเขาจะอยากอยู่ใกล้ๆคนที่เขารักเเค่ไหนก็ตาม
เท่ากับที่เดิม…
คนที่กลัวความใกล้ชิดมีวิธีหลีกเลี่ยงการพัฒนาความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ เช่น…
– พวกเขาจะค้นหาคนที่สมบูรณ์แบบที่สุด หรือใครก็ตามที่ดีกว่าอยู่เรื่อยๆ เเม้ว่าพวกเขาจะอยู่ในความสัมพันธ์กับคุณอยู่ก็ตาม
– มองว่าคนรักจะทำให้พวกเขาไม่เป็นอิสระ เเละพยายามหาหนทำอะไรๆด้วยตนเอง
– มีความไม่ชัดเจน เหมือนมีความลับบางอย่าง
– ชอบโปรยเสน่ห์ให้คนอื่น เเละก็ชอบทำตัวเป็นพ่อสื่อเเม่สื่อเเนะนำให้คน 2 คนมารู้จักกัน
– ชอบทำงาน เเละหลงใหลในกิจกรรมบางอย่างมากๆ
– ชอบมองหาข้อด้อยของคู่ของตนเอง มองว่าความสัมพันธ์ที่มีอยู่ทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
– เมื่อความสัมพันธ์เป็นไปได้ด้วยดีพวกเขาจะตีตัวออกห่างขึ้นมาเฉยๆซะงั้น
– ไม่ตอบสนองคนรักเมื่อคนรักต้องการความสนใจ
– เลือกที่จะเข้าไปสนิทกับคนที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งด้วยยากๆ เช่น คนที่เเต่งงานเเล้ว หรือคนที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ
– หลีกเลี่ยงการถูกสัมผัส
– ไม่ค่อยอยากจะร้องขอความช่วยเหลือจากใคร
ทำยังไงให้อาการดีขึ้น
นอกเหนือจากการเข้าไปขอคำเเนะนำกับนักจิตวิทยาโดยตรงเเล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่ทำให้อาการนี้ดีขึ้น ในกรณีที่อาการเหล่านี้เกิดกับตัวคุณเองหรือคนที่คุณรู้จัก
เช่น เมื่อเห็นคนใกล้ตัวมีอาการเเบบนี้ อย่าพยายามอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาตรงๆ พยายามถามเขาดีๆ ใจเย็นๆว่า ทำไมถึงทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ไม่ได้
ถ้าตัวเองมีอาการเเบบนี้อยู่ก็สามารถทำให้อาการนี้ดีขึ้นเช่นกัน โดยการพยายามใส่ใจคนรอบๆข้างให้มากขึ้น เช่น ตอนที่เเม่ของคุณโทรมาหาหรือเรียกคุณ ให้เลิกคิดว่าคุณกำลังถูกรบกวนอยู่ ให้พยายามทำความเข้าใจว่าการที่เเม่เรียกเรานั้น เเสดงว่าเธออยากจะคุยกับเรามาก ซึ่งมันจะเป็นความรู้สึกที่มากกว่าการที่เราอยากคุยกับเธอหลายเท่า ให้หาโอกาสเริ่มคุยกับเธอก่อนสัก 1 หรือ 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์เเล้วทำให้เป็นเรื่องปกติที่จะเริ่มคุยก่อน พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้ตนเองรู้สึกผิด เเละละอายใจ ว่าต้องทำสิ่งนี้
ซึ่งคุณสามารถใช้วิธีการนี้กับคนใกล้ๆตัวคุณได้เช่นกัน โดยการหาโอกาสทักคนใกล้ตัวของคุณดู อาจเป็นเพื่อนสนิท หรือพี่น้องที่ไม่ค่อยได้คุยกัน
รูปแบบครอบครัวที่จะทำให้คุณมีอาการนี้คือ ครอบครัวที่รั้งหรือยื้อให้คุณอยู่กับพวกเขาให้ได้นานที่สุดเท่าที่ทำได้ เเล้วพยายามให้คุณสำนึกบุญคุณ พยายามควบคุมคุณให้อยู่ใกล้ๆพวกเขาที่สุดจนเกินไปในบางที
การกตัญญูเป็นสิ่งที่ดีงามเเต่การยื้อจนเกินไป เกินขอบเขตที่คุณจะรับได้ มีเเต่จะทำให้คุณมีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณในระยะยาว เเละคนรอบข้างได้
พยายามเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า…คุณสามารถสร้างความสุขให้กับความสัมพันธ์ของคุณได้ เเต่คุณไม่ควรเป็นเครื่องมือในการสร้างความสุขให้กับคนอื่นเช่นกัน
Sources : pdfs.semanticscholar.org www.emotionenhancement.com labs.psychology.illinois.edu www.psychalive.org www2.psych.ubc.ca
ติดตามเพจ : www.facebook.com/WeTheVaporTH
One thought on “ทำไมบางคนถึงกลัวความใกล้ชิด(เกินไป) – Fearful Avoidant Attachment”