หนทางแห่งความสุขในแบบสแกนดิเนเวียน? – Law of Jante

สแกนดิเนเวีย เป็นกลุ่มประเทศที่ถูกพูดถึงกันบ่อยๆในยุคที่ผู้คนกำลังมองหาประเทศในอุดมคติ สมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งการบริหารบ้านเมือง กฎหมายมีความเข้มแข็งไม่เลือกปฏิบัติ การศึกษาระดับเเนวหน้าของโลก และผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

Sisu (ฝึกความอดทน) อาจเป็นแนวคิดหนึ่งที่ทำให้ฟินแลนด์กลายเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดโลก เพราะถึงแม้พวกเขาไม่ได้มีความสุขจริงๆพวกเขาก็มักจะบอกกับเราว่า “โอเค” อยู่เสมอ  ( อัตราการฆ่าตัวตายของฟินเเลนด์อยู่ที่อันดับที่ 30 ของโลก ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 43 – List of countries by suicide rate From Wikipedia ) ในส่วนของเดนมาร์กพวกเขาก็มีแนวคิดแบบ Hygge อยู่เช่นกัน

นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ ฟินเเลนด์ สวีเดน เดนมาร์กล้วนถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาเเล้วที่อยู่ลำดับต้นๆในด้านเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา สุขภาพ หรือเเม้เเต่ดัชนีความสุขของคนในประเทศ ซึ่งอยู่ในท็อป 5 มาโดยตลอด

ดัชนีความสุขจะถูกประเมินโดยปัจจัยที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย ความพึงพอใจในงาน สุขภาพ สิทธิเสรีภาพ คุณภาพของสิ่งแวดล้อม สภาวะความเชื่อใจที่มีต่อรัฐบาล

เดนมาร์กมีปัญหาหาคอร์รัปชั่นน้อยที่สุดในโลก ส่วนประเทศที่มีปัญหาด้านนี้ที่สุดคือไอซ์แลนด์ อยู่อันดับที่ 14 ของโลก

ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในประเทศสวีเดนเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 6.2  มคก./ลบ.ม ต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยที่สุดในสแกนดิเนเวีย เดนมาร์กมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ยอยู่ที่ 11 มคก./ลบ.ม ต่อปี ซึ่งถือว่าแย่ที่สุดในแถบนี้ ( world Bank 2017 )

ดัชนีชี้วัดคุณภาพทางสิ่งแวดล้อม EPI ( 2018 ) โดย envirocenter.yale.edu เดนมาร์กทำคะแนนได้ดีที่สุดในประเทศเเถบสแกนดิเนเวีย ส่วนนอร์เวย์ทำคะแนนได้เเย่ที่สุดอยู่อันดับที่ 14

ปัจจัยทุกอย่างนี้อาจเป็นตัวสร้าง “ความเชื่อมั่น” ให้กับคนภายในประเทศ หรือแท้จริงแล้วความสุขอาจจะหมายถึงการเชื่อใจกัน?

เชื่อว่าคนอื่นๆในสังคมเป็นคนที่น่าเชื่อถือไม่คดโกงกัน เชื่อในสภาพอากาศว่าจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อร่างกาย เชื่อในตัวกฎหมายที่จะปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเที่ยงธรรม เชื่อว่าภาษีที่พวกเขาต้องจ่ายไปราวๆ 40 – 60% จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศได้จริง

พวกเขาจะไม่รู้สึกเดือดร้อนใดๆกับการต้องเสียภาษี เพราะ “เชื่อ” และ “รู้” ว่าภาษีจะเข้าไปในระบบการศึกษาจริงๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกหลานได้เรียนฟรีจนถึงมหาวิทยาลัย พวกเขาจะได้รับสวัสดิการที่ดีหลังเกษียณอายุ เป็นเหตุให้พวกเขาไม่จำเป็นต้องอดออม หรือเป็นกังวลเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลในช่วงที่แก่ตัวลง

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิตของผู้คนในแถบนี้คือ แนวคิดในแบบ Law of Jante

คนไม่มีสิทธิ์?

ในขณะที่หลายๆวัฒนธรรมสอนให้ผู้คนแบ่งเป็นชนชั้นต่าง ๆ  คนที่อยู่เบื้องล่างต้องเคารพคนที่สูงศักดิ์กว่า ต้องชื่นชมคนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดีกว่า

แนวคิดนี้บอกให้ผู้คนจำยอม เเละยอมรับว่าชนชั้นที่อยู่สูงสุดมีอำนาจที่จะกำหนดชีวิตของใครก็ได้ ซึ่งต่างกันโดยสิ้นเชิงกับเเนวคิด Law of Jante ที่บอกเราว่า…พวกเขา “ไม่มีสิทธิ์” ขนาดนั้น

ทุกๆคนต่างหากที่มีสิทธิ์วางกฎ ไม่ใช่คนไม่กี่คนในสังคม อีกทั้ง Law of Jante ยังเป็นวิธีการเตือนสติว่า ตนเองไม่ได้ดีไปกว่าคนอื่นเท่าไรนักเช่นกัน

Law of Jante เป็นส่วนหนึ่งของนิยายเสียดสีสังคม A Fugitive Crosses His Tracks  ที่แต่งขึ้นในปี 1933 โดย Aksel Sandemose ซึ่งในเนื้อเรื่องมีเมืองเล็กๆชื่อ Jante

ผู้คนแทบจะลืมเนื้อหาหลักๆของเรื่องไปเเล้วว่ามันเกี่ยวกับอะไร เเต่สิ่งที่พวกเขาจำได้คือกฎ 10 ข้อที่พวกเขาเชื่อว่าจะทำให้สังคมสงบสุขได้ถ้าทุกๆคนปฏิบัติตาม

กฎเหล่านี้เเทรกซึมไปในความคิดของชาวสแกนดิเนเวียนมาอย่างยาวนาน  เป็นเหมือนแนวคิดที่มีไว้ควบคุมจิตสำนึกของผู้คน พอไม่ทำตามจะทำรู้สึกผิดขึ้นมา ซึ่งประกอบไปด้วย …

1. คุณต้องไม่คิดว่าคุณเป็นคนพิเศษ

2. คุณต้องไม่คิดว่าคุณดีกว่า

3. คุณต้องไม่คิดว่าคุณฉลาดกว่า

4. คุณต้องไม่คิดว่าคุณเหนือกว่า

5. คุณต้องไม่คิดว่าคุณรู้มากกว่า

6. คุณต้องไม่คิดว่าคุณสำคัญกว่า

7. คุณต้องไม่คิดว่าคุณมีดีในอะไรสักอย่าง

8. คุณต้องไม่หัวเราะเยาะคนอื่น

9. คุณต้องไม่คิดว่าคนอื่นจะแคร์ในตัวคุณ

10. คุณต้องไม่คิดว่าคุณจะสอนคนอื่นได้

กฎจารีตนี้ทำให้ผู้คนพอใจในสิ่งที่ตนเองมี ซึ่งต่างกันโดยสิ้นเชิงกับเเนวคิดบริโภคนิยม ที่มักจะหลงใหลในภาพลักษณ์ พยายามหาวิธีการที่จะได้ยกย่องเยินยอตัวเอง เเล้วหาหนทางที่จะให้คนอื่นมองตนเองว่าเป็นคนสำคัญ

แต่ในทางหนึ่ง Law of Jante ถูกมองว่าเป็นแนวคิดที่คอยกดทับไม่ให้ผู้คนพบเจอกับด้านที่ดีที่สุดของตัวเอง ซึ่งหลายๆคนมองว่า Law of Jante เป็นแนวคิดที่ล้าสมัย

ผู้คนจะเรียนรู้ Law of Jante ตั้งเเต่ช่วงปฐมวัย ไม่มีการแบ่งห้องเรียนเด็กเก่งหรือเด็กที่เรียนได้แย่ออกจากกัน คนที่เก่งกว่าคนอื่นในชั้นจะถูกผลักดันให้เข้าไปช่วยเด็กที่อ่อนกว่า ซึ่งการเรียนส่วนใหญ่เน้นระบบทำงานกลุ่ม [ Image Source : Norden.org ]

ความสำเร็จของคนคนหนึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายๆคน

ผู้คนที่มีเเนวคิดบริโภคนิยม หรือคนที่มีแนวคิดแบบ Individualism  เมื่อพวกเขาประสบความสำเร็จ พวกเขาจะคิดว่ามันเกิดจากความสามารถของตัวเองล้วนๆ เเต่เเนวคิด Law of Jante ทำให้ผู้คนคิดว่า ไม่มีความสำเร็จใดเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการสนับสนุนจากคนอื่นๆ

เพลงของศิลปินจะขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งไม่ได้ถ้าไม่มีคนฟัง ห้างร้านจะประสบผลสำเร็จไม่ได้เลยถ้าขาดผู้คนเข้ามาซื้อของ

Law of Jante ทำให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงเหตุผลเหล่านี้ อีกทั้งจะทำให้ผู้คนรำลึกถึงความสุขที่ยั่งยืน เช่นการได้แบ่งปันความรักกับคนใกล้ตัว

“ อาจไม่มีความสุขใดเทียบเท่ากับการได้มีเพื่อนสนิท หรือครอบครัวที่ใกล้ชิดเพื่อที่จะได้แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน ไม่ใช่ความสุขที่หาได้จากคนอื่นๆที่เราไม่รู้จัก “

เมื่อเเนวคิดนี้ถูกปรับใช้กับทุกชนชั้นจริงๆ มันง่ายมากที่ผู้คนจะน้อมรับเเนวคิดแบบประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยไม่ได้พูดถึงคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคมโดยเฉพาะ เเต่มันพูดทุกๆคนอย่างแท้จริง

Law of Jante อาจไม่ใช่สูตรสำเร็จของความสุขที่เเท้จริงหรือเหมาะสมกับการใช้ชีวิตของทุกๆคน เเต่ต้องยอมรับว่า Law of Jante  คือบางสิ่งที่เราน่าจะมีมากกว่านี้ในชีวิต ในโลกที่ผู้คนเห็นอกเห็นใจกันน้อยลงทุกที

 

 

Sources :  wikipedia.org – Law of Jante upliftconnect.com – Jante hold secret happiness

follow

 

Advertisement

5 thoughts on “หนทางแห่งความสุขในแบบสแกนดิเนเวียน? – Law of Jante”

  1. เห็นด้วยเลย เรื่องความเท่าเทียมของคนสแกนดิเนเวีย เคยเห็นคนประเทศนี้เป็นผู้จัดการบริษัท มีเพื่อนทำงานเป็นยาม และแม่รับทำความสะอาดตามบ้าน จัดปาร์ตี้ร่วมกันอยู่บ่อยๆ

    Like

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

%d bloggers like this: