ตกลงแล้ว…แค่ไหนถึงเรียกว่า“ชนชั้นกลาง” – Middle Class

หนึ่งคำที่ถูกพูดถึงน้อยสุดๆในช่วงที่การเมืองกลายเป็นสิ่งที่แมสสุดๆในสังคมไทย คือ ชนชั้นกลาง ( middle class ) ทั้งๆที่ตามพื้นฐานเเล้วกลไกของประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดีที่ได้มาตรฐาน  ตามแนวทางของ William Thompson & Joseph Hickey, 2005 ที่ใช้แบ่งเเยกชนชั้นในสังคมสหรัฐฯ  ชนชั้นที่อยู่ตรงกลางควรจะมีอยู่ประมาณ 50 – 80% ของประชากรในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่

มันจึงทำให้เราสับสนว่าประเทศเรามีชนชั้นกลางจำนวนเท่าไร? หรือเเม้แต่สับสนว่า..เเค่ไหนกันเเน่ถึงเรียกว่าชนชั้นกลาง?

Continue reading “ตกลงแล้ว…แค่ไหนถึงเรียกว่า“ชนชั้นกลาง” – Middle Class”

ประเภทของการโกหก – Types of liars

เเท้จริงแล้วเราต่างก็สอดแทรกการโกหกเอาไว้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เป็นกลไกทางธรรมชาติเพื่อป้องกันความรู้สึกแย่ๆที่จะเข้ามาในชีวิต เช่น การบอกว่าเราสบายดีเพื่อไม่ให้ทางบ้านเป็นห่วงเรามาก การบอกว่าเราหล่อสวยที่สุดเพื่อให้เรามั่นใจยิ่งขึ้นในการขึ้นไปพูดบนเวที การชมแฟนของเราว่าดูดีที่สุด ตอนที่เธอกำลังเลือกซื้อเสื้อผ้าลดราคาอยู่ เพื่อจะได้กลับบ้านเร็วขึ้น Continue reading “ประเภทของการโกหก – Types of liars”

ส่วนผสมของ “อีโก้” [ Id / Ego / Superego ]

อีกหนึ่งแนวคิดที่ทำใหผู้คนรู้จัก Sigmund Freud  คือ การศึกษาเรื่อง “ความทะเยอทะยาน” หรือสภาวะของ Ego

ความทะเยอทะยานที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของเราจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน  นั่นคือ ID , Ego ,Superego ทั้ง 3 ส่วนจะทำหน้าที่ต่างกัน แต่ก็สามารถทำงานไปด้วยกันเพื่อส่งเสริมกันเเละกันได้

Sigmund Freud ใช้วิธีการสังเกต และรวบรวมผลจากผู้ป่วยของเขา ดังนั้นเเนวคิดของเขายังคงเป็นที่คลางเเคลงใจของหลายๆคนอยู่ เเต่ถึงอย่างไรด้วยความที่เขาเป็นเป็นนักจิตวิทยาที่หลายๆคนยอมรับ เเนวคิดนี้จึงยังถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ และผู้คนก็ได้นำเเนวคิดนี้มาศึกษากันอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

 

อิด – Id

มันจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติตั้งแต่ที่เราเกิด  ขับเคลื่อนไปตามสัญชาตญาณความอยาก รวมถึงการตอบสนองที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่นการร้องไห้เมื่อหกล้ม การลงไปนอนกลิ้งกับพื้นเพื่ออยากจะได้ของเล่น การโมโหหิว หรือเวลาของตกพื้นแล้วเอามือไปรับแบบอัตโนมัติ

Id มักจะเชื่อมโยงกับจินตนาการบางอย่างเสมอทำให้ผู้คนไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุไหนก็ตาม

ท้ายที่สุด Id จะเป็นตัวสร้างตรรกะที่ผิดเพี้ยนและความเห็นแก่ตัวขึ้นมา ซึ่งจะปรากฏอยู่ในเด็กๆทุกคน มีมากมีน้อยต่างกัน เป็นเรื่องธรรมชาติ และจะเป็นตัวผลักดันทำให้ Ego เกิดขึ้น

 

อีโก้ – Ego

จะถูกพัฒนามาจาก Id ต่างกันที่มันจะยึดโยงเหตุผลมากกว่า และอยู่ในพื้นฐานที่สังคมทั่วไปสามารถยอมรับได้

Ego จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนอง Id โดยจะยึดจากหลักความเป็นจริง พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในด้านลบน้อยที่สุด และได้รับการยอมรับจากสังคมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

Ego จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกดี มีความสุข ไม่สนใจว่าถูกหรือผิด ไม่ต่างจาก Id แต่ Ego จะชื่นชอบในการหาวิธีทำให้ตัวเองมีความสุข หาวิธีลดความเจ็บปวดเมื่อความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง เเต่ทุกอยากจะถูกทำโดยคำนึงถึงผลที่ตามมาเป็นสำคัญ ว่ามันจะไม่นำความเดือดร้อนมาให้ในภายหลังหรือไม่

อีกทั้งยังมีหน้าที่สำคัญในการสร้างสมดุลระหว่าง Id กับ Superego

 

ซุปเปอร์อีโก้ – Superego

จะเรื่มเกิดขึ้นในช่วง 3-5 ปี ที่จิตสำนึกจะเริ่มซึมซับถึงศีลธรรม ผิดชอบชั่วดี เรื่องเพศ การตัดสินใจอันไหนชอบไม่ชอบ เช่น ชอบกินผักหรือไม่ชอบกินผัก

Superego จะเรียนรู้ผ่านการเลี้ยงดูของพ่อเเม่ และสามารถเติบโตขึ้นได้ผ่านการเรียนรู้จากคนที่พวกเขาเคารพ เช่น ครู หรือรุ่นพี่ที่นับถือ กลายเป็นมาตรฐานศีลธรรมรูปแบบใหม่ที่อาจไม่สอดคล้องกับสังคมส่วนใหญ่

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของ Superego คือ มันสามารถทำงานได้ทั้งในจิตใต้สำนึกและนอกจิตใต้สำนึก เพราะฉะนั้นพวกเขาอาจจะไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่าเคยทำหรือเคยพูดอะไรไป การทำอะไรโดย  “ขาดจิตสำนึก” จึงเกิดขึ้น พร้อมๆกับความ “ไม่ละอายใจ”  หรือ “ไม่ละอายต่อบาป”  อีกทั้งยังชอบจินตนาการเหนือความจริง ทำให้ตรรกะผิดเพี้ยนไป

ต่างจาก Ego ที่จะรู้สึกตลอดเวลาว่าทำอะไรลงไป  พวกเขาจะรู้สึกตัวเสมอเเล้วมีความสำนึกผิดอยู่ในใจยามที่ทำเรื่องผิดศีลธรรมลงไป 

Sigmund Freud เชื่อว่า superego จะเกิดขึ้นจากความรู้สึกกลัวในการถูกทำโทษในวัยเด็ก พวกเขาจะมีเเรงผลักดันอย่างสูงในการหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ หรือถูกจับได้ ทำให้พวกเขามีพัฒนาการที่ดีในการหาวิธีที่จะทำให้พวกเขาไม่ถูกจับ โดยไม่ยึดโยงศีลธรรมใดๆ ต่างจากเด็กที่มีประสบการณ์ด้านความรัก ถ้าเด็กๆรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่รัก หรือเป็นที่ต้องการ ศีลธรรมจะถูกพัฒนาได้ดีกว่า

 

 

Sources:  www.verywellmind.com, www.newworldencyclopedia.org

follow

 

ตกลงเราคือใครกันแน่? – Identity diffusion

Identity diffusion คือวิกฤตในชีวิตเเบบหนึ่ง มักจะอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยรุ่นสู่วัยผู้ใหญ่ ที่ไม่รู้ว่าเราคือใครกันเเน่หรือเราอยากจะทำอะไรในชีวิต Continue reading “ตกลงเราคือใครกันแน่? – Identity diffusion”

ทำไมบางคนถึงมั่นใจตัวเองเกิ๊นนน – Self-Esteem / Self-confidence / Narcissism / Individualism

การเห็นคุณค่าในตัวเอง ( self-esteem )  กับความมั่นใจในตนเอง ( self-confidence )  มีความใกล้เคียงกันมากเเต่ก็ยังไม่เหมือนกันเสียทีเดียว Continue reading “ทำไมบางคนถึงมั่นใจตัวเองเกิ๊นนน – Self-Esteem / Self-confidence / Narcissism / Individualism”

ทำไมนกพิราบถึงชอบอยู่ในเมือง?

มีนกพิราบกว่า 400 ล้านตัวทั่วโลก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง บางคนชอบมันบางคนเกลียดหรือกลัวมัน

พวกมันชอบมากันเป็นฝูง ชอบรวมตัวกันบนพื้น บนสายไฟ บางตัวอาจจะบินมาไกลแสนไกล บางตัวอาจจะบินมาปล่อยระเบิดบนรถหรือบนหัวของคุณ

แต่อะไรคือสาเหตุจริงๆที่มันชอบมาอยู่ในเมืองและทำไมพวกมันถึงไม่กลัวในการเข้าหาผู้คนต่างจากนกอื่นๆ Continue reading “ทำไมนกพิราบถึงชอบอยู่ในเมือง?”

ทำไมบางคนถึงกลัวความใกล้ชิด(เกินไป) – Fearful Avoidant Attachment

อาการกลัวความใกล้ชิด ( Fearful avoidant attachment )

เป็นอาการของคนที่อยากมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง เเต่ความกลัวบางอย่างหยุดความสัมพันธ์ของพวกเขาเอาไว้ไม่ให้คืบหน้าไปมากกว่าที่เป็นอยู่ คนรอบๆตัวอาจจะบอกกับคนเหล่านี้ว่าเป็นพวกที่ไม่เปิดใจ Continue reading “ทำไมบางคนถึงกลัวความใกล้ชิด(เกินไป) – Fearful Avoidant Attachment”

ศาสตร์แห่งการจีบ

การจีบเป็นพฤติกรรมเพื่อเรียกร้องความสนใจเเละเเสดงออกถึงความสนใจต่อคนที่เราชอบ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางการพูด หรือเป็นเเค่ลักษณะท่าทางเฉยๆก็ได้ หลายๆวัฒนธรรมการจีบมีรูปเเบบที่ตายตัว เช่น การขอไลน์ การมอบดอกกุหลาบ ถ้าเป็นสมัยยุคหินก็อาจจะเป็นการล่าเนื้อมาให้ หรือให้สัญลักษณ์เเทนใจด้วยเขี้ยวสิงโต Continue reading “ศาสตร์แห่งการจีบ”

อาการของคนที่รักความสมบูรณ์แบบ ( perfectionist )

เพอร์เฟคชั่นนิส ( perfectionist )ไม่ใช่พวกที่ชอบตัดสินคนอื่นหรือหลงใหลกับการคอมเมนต์แบบเจ็บๆ แต่พวกเขาเป็นพวกที่ต้องการแน่ใจสุดๆว่าสิ่งที่เขาทำจะต้องเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบที่สุด ปัญหาของมันก็คือ…คนเหล่านี้ไม่สามารถทําให้ทุกๆอย่างสมบูรณ์อย่างที่คิดได้จริงๆสักที Continue reading “อาการของคนที่รักความสมบูรณ์แบบ ( perfectionist )”

มันมีอยู่จริง!!! คนที่รังเกียจคนมีความรู้ ( Anti-intellectualism )

คนเหล่านี้ได้เข้ามาต่อต้าน “เหล่าปัญญาชน” ผ่านทางการเมืองเเละการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน พวกเขาเข้ามาทำลายกลุ่มปัญญาชน ด้วยชุดความเชื่อผิดๆ โดยคิดว่า…ความเพิกเฉยของพวกเขา มีค่าเทียบเท่ากับความรู้ของกลุ่มปัญญาชน ซึ่งนั่นเป็นเเนวคิดประชาธิปไตยในโลกของ Anti-intellectualism Continue reading “มันมีอยู่จริง!!! คนที่รังเกียจคนมีความรู้ ( Anti-intellectualism )”