อีกหนึ่งแนวคิดที่ทำใหผู้คนรู้จัก Sigmund Freud คือ การศึกษาเรื่อง “ความทะเยอทะยาน” หรือสภาวะของ Ego
ความทะเยอทะยานที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของเราจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน นั่นคือ ID , Ego ,Superego ทั้ง 3 ส่วนจะทำหน้าที่ต่างกัน แต่ก็สามารถทำงานไปด้วยกันเพื่อส่งเสริมกันเเละกันได้
Sigmund Freud ใช้วิธีการสังเกต และรวบรวมผลจากผู้ป่วยของเขา ดังนั้นเเนวคิดของเขายังคงเป็นที่คลางเเคลงใจของหลายๆคนอยู่ เเต่ถึงอย่างไรด้วยความที่เขาเป็นเป็นนักจิตวิทยาที่หลายๆคนยอมรับ เเนวคิดนี้จึงยังถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ และผู้คนก็ได้นำเเนวคิดนี้มาศึกษากันอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

อิด – Id
มันจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติตั้งแต่ที่เราเกิด ขับเคลื่อนไปตามสัญชาตญาณความอยาก รวมถึงการตอบสนองที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่นการร้องไห้เมื่อหกล้ม การลงไปนอนกลิ้งกับพื้นเพื่ออยากจะได้ของเล่น การโมโหหิว หรือเวลาของตกพื้นแล้วเอามือไปรับแบบอัตโนมัติ
Id มักจะเชื่อมโยงกับจินตนาการบางอย่างเสมอทำให้ผู้คนไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุไหนก็ตาม
ท้ายที่สุด Id จะเป็นตัวสร้างตรรกะที่ผิดเพี้ยนและความเห็นแก่ตัวขึ้นมา ซึ่งจะปรากฏอยู่ในเด็กๆทุกคน มีมากมีน้อยต่างกัน เป็นเรื่องธรรมชาติ และจะเป็นตัวผลักดันทำให้ Ego เกิดขึ้น

อีโก้ – Ego
จะถูกพัฒนามาจาก Id ต่างกันที่มันจะยึดโยงเหตุผลมากกว่า และอยู่ในพื้นฐานที่สังคมทั่วไปสามารถยอมรับได้
Ego จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนอง Id โดยจะยึดจากหลักความเป็นจริง พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในด้านลบน้อยที่สุด และได้รับการยอมรับจากสังคมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
Ego จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกดี มีความสุข ไม่สนใจว่าถูกหรือผิด ไม่ต่างจาก Id แต่ Ego จะชื่นชอบในการหาวิธีทำให้ตัวเองมีความสุข หาวิธีลดความเจ็บปวดเมื่อความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง เเต่ทุกอยากจะถูกทำโดยคำนึงถึงผลที่ตามมาเป็นสำคัญ ว่ามันจะไม่นำความเดือดร้อนมาให้ในภายหลังหรือไม่
อีกทั้งยังมีหน้าที่สำคัญในการสร้างสมดุลระหว่าง Id กับ Superego

ซุปเปอร์อีโก้ – Superego
จะเรื่มเกิดขึ้นในช่วง 3-5 ปี ที่จิตสำนึกจะเริ่มซึมซับถึงศีลธรรม ผิดชอบชั่วดี เรื่องเพศ การตัดสินใจอันไหนชอบไม่ชอบ เช่น ชอบกินผักหรือไม่ชอบกินผัก
Superego จะเรียนรู้ผ่านการเลี้ยงดูของพ่อเเม่ และสามารถเติบโตขึ้นได้ผ่านการเรียนรู้จากคนที่พวกเขาเคารพ เช่น ครู หรือรุ่นพี่ที่นับถือ กลายเป็นมาตรฐานศีลธรรมรูปแบบใหม่ที่อาจไม่สอดคล้องกับสังคมส่วนใหญ่
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของ Superego คือ มันสามารถทำงานได้ทั้งในจิตใต้สำนึกและนอกจิตใต้สำนึก เพราะฉะนั้นพวกเขาอาจจะไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่าเคยทำหรือเคยพูดอะไรไป การทำอะไรโดย “ขาดจิตสำนึก” จึงเกิดขึ้น พร้อมๆกับความ “ไม่ละอายใจ” หรือ “ไม่ละอายต่อบาป” อีกทั้งยังชอบจินตนาการเหนือความจริง ทำให้ตรรกะผิดเพี้ยนไป
ต่างจาก Ego ที่จะรู้สึกตลอดเวลาว่าทำอะไรลงไป พวกเขาจะรู้สึกตัวเสมอเเล้วมีความสำนึกผิดอยู่ในใจยามที่ทำเรื่องผิดศีลธรรมลงไป
Sigmund Freud เชื่อว่า superego จะเกิดขึ้นจากความรู้สึกกลัวในการถูกทำโทษในวัยเด็ก พวกเขาจะมีเเรงผลักดันอย่างสูงในการหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ หรือถูกจับได้ ทำให้พวกเขามีพัฒนาการที่ดีในการหาวิธีที่จะทำให้พวกเขาไม่ถูกจับ โดยไม่ยึดโยงศีลธรรมใดๆ ต่างจากเด็กที่มีประสบการณ์ด้านความรัก ถ้าเด็กๆรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่รัก หรือเป็นที่ต้องการ ศีลธรรมจะถูกพัฒนาได้ดีกว่า
Sources: www.verywellmind.com, www.newworldencyclopedia.org
