ถ้าคุณอยากได้ยินอะไรอย่างถูกต้องถูกวิธี คุณอาจลองเอียงศีรษะสักเล็กน้อยเพื่อใช้หูข้างขวาในการรับเสียงเข้ามา!?
จากผลการวิจัย พบว่าเมื่อสมองทำงานหนักในการประมวลผล อย่างเช่นตอนที่มีความเครียด มนุษย์จะพึ่งพาหูข้างขวามากขึ้นในการประมวลผลและเก็บรักษาข้อมูลเสียงนั้นเอาไว้
สิ่งนี้เรียกว่า ประสิทธิภาพในการรับฟังที่มีมากกว่าของหูขวา( dichotic right-ear advantage ) การรับเสียงจากหูขวาจะไปเชื่อมต่อกับสมองซีกซ้ายของคนในกลุ่ม neurotypical ที่มีบทบาทสำคัญในการประมวลผลด้านภาษาและระบบความจำ นั่นก็หมายถึงหูเเต่ละข้างจะรับข้อมูลมาในรูปแบบที่ต่างกันเเล้วค่อยมาประมวลผลทีหลัง
เเต่การเเยกระบบการรับรู้ซ้ายขวาดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นกับเด็ก พวกเด็กๆจะต้องพึ่งพาหูข้างขวามากกว่าในการรับสารเพื่อพัฒนาระบบภาษาของตัวเองให้ได้เสียก่อน ก่อนที่จะรับรู้เสียงอื่นๆที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
โดยงานวิจัยนี้จะให้ผู้เข้าร่วมที่มีอายุในช่วงอายุ 19-28 ปี จำนวน 41 คน เข้าทดสอบเพื่อหาความเเตกต่างของการรับสารของหูเเต่ละข้างดู โดยเนื้อหาของเสียงที่พวกเขาจะได้รับฟังจะเป็นพวก สุนทรพจน์ เป็นพวกเสียงการอ่านเป็นประโยคๆไป หรือ ตัวเลข การทดสอบจะเจาะจงไปที่การได้ยินของหูทีละข้าง(separation) หรือบางทีก็ทั้ง 2 ข้างร่วมกัน(integration) ซ้ำไปซ้ำมา เเล้วกำหนดให้มีข้อมูลเพิ่มเข้าไปเรื่อยๆในแต่ละลิสท์
สิ่งที่พวกเขาค้นพบก็คือ การจดจำข้อมูลในหูข้างซ้ายกับหูขวาของพวกเขาทำได้ดีพอๆกัน แต่เมื่อเพิ่มจำนวนข้อมูลเข้าไป จะพบว่าพวกเขาสามารถจดจำจากการได้ยินโดยใช้หูข้างขวาได้ดีกว่าประมาณ 8 % แต่บางคนทำได้ถึง 40%
นักวิจัยกล่าวว่างานวิจัยที่เคยมีมาในปี 1973 แสดงให้เห็นว่าความพิเศษในการได้ยินของหูข้างขวาลดลงเมื่ออายุ 13 ปี แต่ผลการวิจัยชิ้นใหม่นี้บ่งชี้ว่ามันเกี่ยวกับปริมาณของข้อมูลนั้นมีมากน้อยเพียงใดต่างหาก ส่วนผู้เข้าทดสอบที่มีอายุมาก พวกเขาจะมีประสิทธิภาพในการ “เลือก” รับรู้ข้อมูลได้ดีกว่า (ไม่เกี่ยวว่าจะเลือกรับข้อมูลผิดหรือถูก)
นักวิจัยยังเพิ่มเติมอีกว่า ทักษะด้านความรู้ความเข้าใจ Cognitive Skills จะ “ลดลง” เมื่อเราแก่ตัวลง เป็นโรคบางชนิด หรือได้รับความเจ็บปวดทางด้านความรู้สึก ดังนั้น มันจะเป็นเรื่องดี ถ้าเราได้รู้ว่า “ปริมาณข้อมูล” ที่เราได้ยินสามารถทำให้ทักษะการวิเคราะห์ แยกแยะ ของเรามีประสิทธิภาพดีขึ้นหรือด้อยประสิทธิภาพลงได้เช่นกัน
ติดตามเพจ: www.facebook.com/WeTheVaporTH