1918 ไข้หวัดสเปน…โรคระบาดที่ถูกลืม อะไรคือสาเหตุที่เเท้จริง?

คุณเคยรู้สึกไหมว่า บางครั้งสิ่งที่คุณได้รับรู้มา กับสิ่งที่คนบางกลุ่มได้พูดออกมา มันช่างสวนทางกันอะไรขนาดนั้น “เหมือนว่าเราอยู่กันคนละโลก” 

มันอาจคล้ายๆกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 1918 Continue reading “1918 ไข้หวัดสเปน…โรคระบาดที่ถูกลืม อะไรคือสาเหตุที่เเท้จริง?”

มันมีอยู่จริง!!! คนที่รังเกียจคนมีความรู้ ( Anti-intellectualism )

คนเหล่านี้ได้เข้ามาต่อต้าน “เหล่าปัญญาชน” ผ่านทางการเมืองเเละการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน พวกเขาเข้ามาทำลายกลุ่มปัญญาชน ด้วยชุดความเชื่อผิดๆ โดยคิดว่า…ความเพิกเฉยของพวกเขา มีค่าเทียบเท่ากับความรู้ของกลุ่มปัญญาชน ซึ่งนั่นเป็นเเนวคิดประชาธิปไตยในโลกของ Anti-intellectualism Continue reading “มันมีอยู่จริง!!! คนที่รังเกียจคนมีความรู้ ( Anti-intellectualism )”

ประเทศที่พัฒนาเเล้วดูจากอะไร?

การที่จะระบุบว่าประเทศไหนพัฒนาเเล้ว ประเทศไหนยังไม่พัฒนาดูจากอะไร

เเท้จริงเเล้วมันอาจไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจเสมอไป เเต่มันอาจจะขึ้นอยู่กับทัศนคติของคนในประเทศมากกว่า ? Continue reading “ประเทศที่พัฒนาเเล้วดูจากอะไร?”

ความคิดในเเบบเสรีนิยม Vs อนุรักษนิยม

นักวิทยาศาสตร์รู้กันดีว่า การที่จะเปลี่ยนคนที่มีความคิดเสรีนิยม ( liberal )ให้กลายเป็นคนที่มีความคิดอนุรักษนิยม ( conservative ) ได้ คือการทำให้พวกเขา “กลัว” โดยการข่มขู่พวกเขา

นี่เป็นงานทดลองที่พบในห้องแล็บ ที่ได้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ   Before You Know It: The Unconscious Reasons We Do What We Do  มันจึงทำให้คนบางกลุ่ม ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ เพื่อทำให้ผู้คนเกิดความหวาดกลัวขึ้น หรือถ้าหากมันเกิดขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจ มันก็ส่งผลกระทบบางอย่างต่อความคิดของผู้คนอยู่ดี?

มีผลการศึกษาหลายๆตัวเห็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวกับ เหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11  ที่เเสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนเเรงต่อเเนวคิดของเสรีนิยม ที่ถูกเปลี่ยน ให้กลายเป็นคนที่มีเเนวคิดเเบบอนุรักษนิยม ซึ่งทำให้  George W. Bush ชนะการเลือกตั้งในเวลาต่อมา  ทั้งยังเห็นด้วยกับการเพิ่มงบอย่างมหาศาลให้กับกองทัพ

พวกเขาละเลยกระบวนการตรวจสอบ เช่น ส่งทหารไปนานเเค่ไหน หลังจากนั้นทำอะไร งบมาจากส่วนไหนบ้าง พวกเขาจะหยุดตั้งคำถามใดๆ

มันทำให้พวกเขาไร้ความกังวล หรือได้รับความกดดัน พวกเขาจะมองว่าการการเคลื่อนไหวของเเนวคิดเสรีนิยมคือการข่มขู่ ซึ่งจะทำให้พวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัย

เเละความรุนเเรงที่เกิดขึ้นจากฝ่ายอนุรักษนิยม จะมีจุดเริ่มต้นมาจากเเนวคิด “การป้องกันตัว” ป้องกันความเชื่อของตนเอง จนมองว่า…การทำร้ายคนอื่นๆเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

เเต่คนเหล่านี้ มีเเนวโน้มที่จะเป็นฝ่ายคอยช่วยเหลือในกิจกรรมทางสังคมมากกว่าคนที่เป็นเสรีนิยม เช่น การเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน ที่ประสบอุทกภัย เพราะพวกเขาเชื่อว่า… มันจะเป็นการสร้าง “ความปลอดภัย” ให้คนอื่นเช่นกัน  

เหมือนอยู่คนละโลก

ผู้เชี่ยญชาญที่ศึกษาด้านการเมือง มองว่า ไม่ใช่เพียงเเค่พวกเขามองในมุมที่ต่างกัน เเต่พวกเขาต่างกันเเบบสุดขั้ว ทั้งด้านพฤติกรรม เเละการตอบสนองของจิตใต้สำนึก

เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะมีการเลือกข้างตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงเเต่เรื่องการเมือง เเต่จะรวมไปถึง เลือกเเฟน เลือกอาหารที่ชอบที่สุด เลือกหนังที่จะดู เลือกเพลงโปรด  

จากการศึกษาพบว่า คนที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมจะมีความตื่นตัวมากกว่าต่อสิ่งเร้า จะมีห้องที่สะอาดกว่า  จัดการเวลาได้ดีกว่า  ส่วนคนที่มีเเนวคิดเสรีนิยม จะอ่านหนังสือมากกว่า ท่องเที่ยวมากกว่า พวกเขาจะมองถึงอนาคตเเละโอเคกับความไม่เเน่นอนที่จะเกิดขึ้นมากกว่า

เพราะฉะนั้น เป็นไปได้ว่า เเนวความคิดเเบบอนุรักษนิยมจะเปลี่ยนไปในทางเสรีนิยมมากขึ้น ต่อเมื่อพวกเขารู้สึกปลอดภัยมากขึ้น มีความรู้เพิ่มขึ้น เห็นโลกมากขึ้น

ความเเตกต่างนี้เป็นเรื่องปกติ เเต่ทำยังไงให้ทั้ง 2 หันหน้าเข้ามาคุยกันละ?

เริ่มจากอะไรที่เหมือนกัน

ในการศึกษาปี 2010  Irina Feygina นักจิตวิทยาสังคม พบสิ่งๆหนึ่งที่เหมือนกันของทั้ง 2 ฝ่ายคือ การสนใจถึงปัญหาโลกร้อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ ความปลอดภัย เเละ การใส่ใจถึงความเป็นอยู่ในอนาคต มาบรรจบกัน อีกทั้งยังพูดถึงเรื่องการเมืองน้อยที่สุด

ผู้คนจะตื่นกลัวที่ชีวิตของตัวเองจะเปลี่ยนไป “ในอนาคต” ไม่ใช่การที่กลุ่มของพวกเขาโดนข่มขู่ฝ่ายเดียวจากธรรมชาติ เเต่หมายถึง…สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง รวมทั้งลูกหลานของพวกเขาด้วยที่จะไม่ปลอดภัย 

การเอา “ความปลอดภัย” ของคนทั้งประเทศเป็นที่ตั้ง จึงเป็นส่วนเชื่อมโยง 2 เเนวคิดเข้าไว้ด้วยกัน   

ปลอดภัยจากความไม่เเน่นอนทางด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ อุทกภัย ก่อการร้าย ฯลฯ

จินตนาการถึงสวนสาธารณะเเห่งหนึ่ง

คนที่มีเเนวคิดอนุรักษนิยม จะมีเเนวโน้มในการนับถือศาสนามากกว่า พวกเขาจะมีไอเดียของความ “ รักษ์โลก ” อยู่ในหัว พวกเขาจะเเคร์ธรรมชาติ เพราะศาสนามักจะเชื่อมโยงธรรมชาติเอาไว้ด้วยเสมอ เช่นเเนวคิด “พระเจ้าสร้างโลก” สวนเสรีนิยมจะมีเเนวคิด “ รักษ์โลก ” เพราะพวกเขามองถึงอนาคตที่ดีกว่าในการรักษาสิ่งเเวดล้อม

สวนสาธารณะเป็นที่ที่คนทุกชนชั้นเข้ามาใช้งานร่วมกัน  [ Image Source : Time Out contributors, edited by Jenna Scherer ]

การนำเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อทำให้พื้นที่สีเขียวนั้นคงสภาพสมบูรณ์ หรือการผสมผสานของเเนวคิดสมัยใหม่กับเเนวคิดของคนรุ่นเก่าเข้าไว้ด้วยกัน จะเป็นการเชื่อมโยงเเนวความคิดทั้ง 2 ฝ่ายเป็นอย่างดี มันทำให้พวกเขามองว่า เราต่างก็อยากให้โลกนี้ดีขึ้นเหมือนๆกัน 

บางที่ใช้ปฏิมากรรม หรือ งานศิลปะ เข้ามา เพื่อดึงดูดทั้ง 2 ฝ่ายให้เข้ามาชื่นชม 

ทั้งหมดเป็นจุดประสงค์ให้คนที่มีความคิดที่ต่างกัน ปรับตัวเข้าหากันอย่างเป็น “ธรรมชาติ” ไม่ใช่เพียงเเค่ความสวยงาม หรือถูกใช้เพื่อเป็นสถานที่เชิงสัญลักษณ์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 

พยายามเอาเพลงเพื่อชีวิต เพลงปลุกอารมณ์ ทิ้งเอาไว้ก่อน เพราะการปรองดองไม่ต้องการความฮึกเหิม เร้าอารมณ์ หรือเรื่องดราม่าอะไร ที่โยนใส่กันไปมา

“ทั้ง 2 ฝ่ายต้องการสภาวะที่ผ่อนคลายที่สุด ในการปรับตัวเข้าหากัน “

สังเกตการประท้วงทุกครั้งที่เกิดขึ้น มักจะมีรูปแบบที่คล้ายๆกัน เเละจุดจบที่คล้ายกันเเบบเดิมๆ

พวกเขาจะเเยกจุดชุมนุมที่ห่างกันเกินไป มีเพลงฮึกเหิมปลุกใจ ทิ้งขยะเรี่ยราด ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ซึ่งไม่มีอะไรที่เป็นจุด ที่ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้าเข้าหากันเลย

พึงตระหนักได้เลยว่า…นี่ไม่ใช่ภารกิจที่ทำเพื่อชาติเเต่อย่างใดๆ เพราะการ “หาวิธี” เดินหน้าเข้ามาคุยกันของทั้ง 2 ฝ่ายคือปัจจัยหลักในการปรองดอง

ถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชวนฝ่ายตรงข้ามให้เข้ามาคุย นั่นเป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกว่าพวกเขาอยากจะปรองดองจริงๆ

ความเหมือนที่แตกต่าง

ทั้ง 2 ฝ่ายต่างชื่นชอบความเท่าเทียมกัน ฝ่ายเสรีนิยมมองถึงความ “เท่ากัน” ทุกภาคส่วน เเต่ฝ่ายอนุรักษนิยมมองว่า การเเบ่งสัดส่วนที่ต่างๆกันไปตามศักยภาพ ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย เป็นสิ่งที่จำเป็น

พวกเขาเชื่อในระบบ มองว่าระบบศักดินา จะทำให้เกิดเสถียรภาพมากกว่า เเละจะเป็นระบบที่จะสร้างความเรียบร้อยให้เเก่สังคม 

มีการศึกษาที่น่าสนใจในปี 2009 จุดประสงค์เพื่อต้องการเข้าใจเเนวคิด ที่ต่างกันของทั้ง 2 ฝ่าย ในจำนวนผู้เข้าทดสอบกว่า 8,000 คน

พวกเขาจะต้องตัดสินใจเลือกที่จะทำอะไรบางอย่าง เช่น เตะหมาที่หัวของมัน , ทำลายหีบเลือกตั้ง เพื่อให้คนที่คุณเลือกชนะ , พนันให้ทีมที่คุณรักเเพ้ , ด่าหยาบคายต่อหน้าพ่อเเม่ , รับเลือดบริจาคจากคนที่กระทำชำเราเด็ก เพื่อเเลกกับเงิน  $10? $1,000? $100,000? ตามความพอใจ

คนที่มีเเนวคิดเสรีนิยม จะลังเลที่จะทำร้ายสิ่งมีชีวิต หรือทำในสิ่งที่ไม่ยุติธรรม เเม้ว่าจะเป็นเงิน 1 ล้าน usd ก็ตาม เเต่พวกเขาจะเลือกที่จะหักหลังคนในกลุ่ม ละเมิดกฎหมายบางอย่าง หรือเเม้เเต่ทำสิ่งที่น่าขยะแขยงแทน เช่น กินหมาของตัวเองหลังจากที่มันตายเเล้วเพื่อเเลกกับเงิน

คนที่เป็นอนุรักษนิยม จะมีความลังเลน้อยกว่า พวกเขาจะเพิ่มจำนวนเงินเเทน ในสิ่งที่พวกเขามองว่ายากที่จะทำ       

งานวิจัยนี้มีขึ้นเพื่อที่จะบอกให้รู้ว่า คนที่มีความคิดแนวอนุรักษนิยม จะให้ความสำคัญต่อ กฎหมาย สถาบัน ประเพณี ศาสนา พวกเขามองว่าประชาธิปไตยเป็นรูปเเบบที่จะทำให้สังคมมีระเบียบ

ส่วนฝ่ายเสรีนิยมจะให้ความสำคัญ ต่อบทบาทในสังคม พวกเขาต้องการเเน่ใจว่า คนที่อ่อนแอกว่าในสังคมจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ปลอดภัยจากอันตรายที่จะเกิดขึ้น จากมลพิษ หรือผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต จากองค์กรขนาดใหญ่ ที่ส่งผลกระทบมาให้เเก่กลุ่มคนรากหญ้า

พวกเขาแค่ต้องการชีวิตที่มี “ทางเลือก”

มันจะดีกว่าถ้าเราทำความเข้าใจเเนวคิดของทั้ง 2 ฝ่ายอย่างจริงจัง เเละหาวิธีปรับความเข้าใจกันจริงๆ เพราะเเต่ละฝ่ายก็มีข้อดี เเละมีความเชี่ยวชาญในด้านที่ต่างกัน

ถึงยังไง…ประเทศก็ต้องการทุกฝ่าย เพื่อพัฒนาประเทศ ให้มีความสงบสุข ปลอดภัยกับการใช้ชีวิตในวันนี้ เเละวันข้างหน้า                                                        

เหมือนสวนที่ร่มรื่นนั้น ที่ทุกคนได้สร้าง เป็นสวนที่ทุกคนใช้ผ่อนคลาย เเละมีความสุข…กับการ “ได้ใช้ชีวิต” ไปด้วยกัน

 

Sources : www.scientificamerican.comwww.businessinsider.com

follow

 

จากเมือง “เถื่อน”…กลายเป็นเมืองแห่งอนาคตได้อย่างไร? – เมเดยิน

ปี 1991 เมเดยิน( Medellín ) ประเทศโคลอมเบีย คือเมืองที่อันตรายที่สุดในโลก เเต่ปัจจุบัน เมืองนี้คือหนึ่งในเมืองที่ถูกเรียกว่าเป็น “เมืองเเห่งอนาคต” (the list of the top 10 urban innovations)

มีรายได้เป็น เป็น 8% ของGDPในประเทศ เเละเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 โดยมีประชากรราว 3 ล้านคนอาศัยอยู่อย่างสงบสุข

มีปัจจัยหลายๆด้านที่มีส่วนในการพลิกโฉมความเป็นอยู่ จากการเป็นเมืองที่ดูเหมือนไร้อนาคต ให้กลายเป็นเมืองที่เต็มเปี่ยมความหวัง พวกเขาทำมันได้อย่างไร? Continue reading “จากเมือง “เถื่อน”…กลายเป็นเมืองแห่งอนาคตได้อย่างไร? – เมเดยิน”